คู่มือบ้านใหม่ฉบับสมบูรณ์ Ep. 7: งานระบบ จบอย่างไร ไม่บานปลาย

สวัสดีเพื่อนๆ ชาวริชคอนส์ หลังจากเราเล่าถึงงานโครงสร้างไปจนถึงหลังคาแล้ว ต่อมาขออนุญาตเล่าถึงอีกขั้นตอนหนึ่งคือ งานระบบ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว งานระบบหลายๆ ส่วนจะต้องทำควบคู่กันไปกับงานโครงสร้าง เช่น หลายระบบต้องฝังใต้ดินก่อนทำพื้น งานไฟฟ้าหลายส่วนที่อยากหลบซ่อนให้สวยงาม ต้องทำไปพร้อมงานผนัง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในคู่มือบ้านใหม่ฉบับสมบูรณ์ Ep. 7: งานระบบ จบอย่างไร ไม่บานปลาย ครั้งนี้ อยากจะยกทั้งบทให้กับงานระบบ หวังว่าจะไม่สร้างความลำบากให้กับเพื่อนๆ ผู้ที่ติดตามอ่านกัน ในกรณีการนำข้อมูลไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ทางริชคอนส์ขอแนะนำว่า ให้ใช้ข้อมูลของทุกๆ บท ควบคู่กันไปในระหว่างการวางแผน และจด check list ของสิ่งที่ควรกำชับ ควรสังเกต ไปใช้ในระหว่างการควบคุม และตรวจงานกันอีกครั้ง

วันนี้จะพูดถึงงานระบบ ซึ่งจะเน้นไปที่งานไฟฟ้า และ สุขาภิบาล กล่าวคือ งานระบบ น้ำและ ไฟ นั่นเอง ซึ่งเช่นเคย ทางริชคอนส์แนะนำว่างานเหล่านี้ควรยกให้เป็นไปตามความเชี่ยวชาญของนักออกแบบ สถาปนิก และช่าง และให้เราทำหน้าที่ในฐานะเจ้าของบ้านและเจ้าของโครงการ คือการตรวจสอบประเด็นสำคัญๆ โดยในบทนี้ ทางริชคอนส์จะแยกหัวข้อออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่เป็นรายการละเอียดของสิ่งที่ต้องตรวจสอบ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการสร้าง ซึ่งทางท่านเจ้าของสามารถใช้เป็นรายการกำชับกับผู้รับเหมา หรือให้ consult คุมงานคอยดูแลให้ก็ได้ และส่วนที่ 2 คือเทคนิคสั้นๆ กระชับ สำหรับคนเป็นเจ้าของ ที่จะทำให้ลดภาระ และความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหากับบ้านและงบประมาณของท่านได้ เรามาเริ่มกันเลย

ระบบสุขาภิบาล

 

ระบบสุขาภิบาลในบ้าน ประกอบไปด้วย ระบบประปา, ระบบท่อระบายน้ำทิ้ง, ระบบระบายน้ำฝน และระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น การออกแบบที่ดี การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม การติดตั้งที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเราสามารถไล่รายละเอียดตรวจสอบได้ 5 ประการหลักๆ ดังนี้

1. รายการตรวจสอบ ระบบท่อจ่ายน้ำและประปา

  • ตรวจสอบตำแหน่งและแนวการวางท่อให้เป็นไปตามแบบและรายการ
  • ตรวจสอบวัสดุและคุณภาพของท่อ และอุปกรณ์ท่อที่จะนำมาใช้งานให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
  • ตรวจสอบการขุดร่องดินวางท่อให้ได้ขนาด ความลึกตามแบบที่กำหนด
  • ตรวจสอบการใช้วัสดุรองพื้นร่องดินวางท่อให้ถูกต้องตามแบบและรายการ
  • ตรวจสอบระดับและแนวการวางท่อใหเ้ป็นไปตามแบบที่กำหนด
  • ตรวจสอบการใช้วัสดุการกลบทับท่อการบดอัดให้ถูกต้องตามแบบและรายการ
  • ตรวจสอบคุณภาพงานติดตั้ง และประกอบท่อให้ได้ตามมาตรฐานกำหนดและข้อแนะนำของผู้ผลิต
  • ตรวจสอบการทดสอบแรงดันในท่อทุกขั้นตอน
  • ตรวจสอบการล้างท่อและฆ่าเชื้อโรคในท่อ
  • ตรวจสอบการติดตั้งจุดบรรจบประสานท่อต่างๆให้ถูกต้องตามตำแหน่ง

 

2. รายการตรวจสอบระบบท่อระบายน้ำโสโครก

  • ตรวจสอบตำแหน่งและแนวการวางท่อให้เป็นไปตามแบบและรายการ
  • ตรวจสอบวัสดุและคุณภาพของท่อ และอุปกรณ์ท่อที่จะนำมาใช้งานให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
  • ตรวจสอบการขุดร่องดินวางท่อให้ได้ขนาด ความลึก ตามแบบที่กำหนด
  • ตรวจสอบการใช้วัสดุรองพื้นร่องดินวางท่อและการบดอัดให้ถูกต้องตามแบบและรายการ
  • ตรวจสอบระดับและแนวการวางท่อให้เป็นไปตามแบบที่กำหนด
  • ตรวจสอบการใช้วัสดุการกลบท่อการบดอัดให้ถูกต้องตามแบบและรายการ
  • ตรวจสอบคุณภาพงานติดตั้ง ประสาน และวางท่อให้ได้มาตรฐานกำหนด และข้อแนะนำของผู้ผลิต
  • ตรวจสอบการก่อสร้างโครงสร้างรับท่อ แท่นรับท่อ และอื่นๆ ที่จำเป็นในระบบระบายน้ำโสโครก
  • ตรวจสอบคุณภาพและการติดตั้งเครื่องสูบน้ำมอเตอร์และอื่นๆในระบบ
  • ตรวจสอบและทดสอบการเดินระบบ
  • ทดสอบสมรรถนะของเครื่องอุปกรณ์และการทำงานทั้งระบบ
  • ตรวจสอบการทำความสะอาดภายในท่อ ไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้สามารถระบายน้ำโสโครกได้โดยสะดวก
  • ตรวจสอบการบรรจบท่อน้ำโสโครกอาคาร บ้านเรือน เข้ายังระบบท่อระบายน้ำโสโครกรวม

3. รายการตรวจสอบ ระบบท่อระบายน้ำฝน

  • ตรวจสอบตำแหน่งและแนวการวางท่อให้เป็นไปตามแบบและรายการ
  • ตรวจสอบวัสดุ และคุณภาพของท่อ และอุปกรณ์ท่อที่จะนำมาใชว้างให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
  • ตรวจสอบการขุดร่องดินวางท่อให้ได้ขนาด ความลึก ตามแบบที่กำหนด
  • ตรวจสอบการใช้วัสดุรองพื้นดินวางท่อและการบดอัดถูกต้องตามแบบและรายการ
  • ตรวจสอบระดับและแนวการวางท่อให้เป็นไปตามแบบที่กำหนด
  • ตรวจสอบการใช้วัสดุการกลบทับท่อการบดอัดให้ถูกต้องตามแบบและรายการ
  • ตรวจสอบคุณภาพงานติดตั้ง และการวางท่อให้ได้ตามมาตรฐานกำหนด และข้อแนะนำของผู้ผลิต
  • ตรวจสอบงานก่อสร้างรับท่อแท่นรับท่อและอื่นๆ ที่จำเป็นในระบบท่อระบายน้ำฝน
  • การตรวจสอบการทำความสะอาดภายในท่อ ไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้สามารถระบายได้โดยสะดวก
  • ตรวจสอบการสร้างและติดตั้งหัวรับน้ำฝนเข้าสู่ระบบท่อระบายน้ำฝน ให้ถูกต้องตามแบบและรายการ

 

4. รายการตรวจสอบ รางระบายน้ำและท่อระบายน้ำ

  • ตรวจสอบแนวท่อระบายน้ำตามแบบเป็นหลัก
  • ตรวจสอบระดับของท่อระบายน้ำ
  • ตรวจสอบตำแหน่งขนาด และจำนวนท่อที่ใช้ลอดพื้นคอนกรีตของแต่ละวัน
  • ตรวจสอบระดับและแนวลาดเอียงของงานขดุ ดิน ทราย รองพื้น และคอนกรีตหยาบทุกระยะ 50 เมตร
  • วางท่อต้องให้ได้แนวพร้อมกับ ต้องมีการยาต่อท่อ
  • การกลบข้างท่อ และหลังท่อ พร้อมกับการตรวจสอบความหนาแน่นที่กำหนดในแบบหรือรายการก่อสร้างงานบ่อพักน้ำตำแหน่งและระดับของบ่อพักพร้อมชนิดฝาปิดบ่อพักที่ระบุในแบบ
  • ตรวจสอบ ขนาด ความลึกการฝังเหล็กฉากที่ฝารับ ฝาปิดบ่อพักน้ำ
  • ตรวจสอบ ขนาด ชนิด ประเภทของท่อที่ใช้เช่น ลอดถนนกับไม่ลอดถนน ท่อจะต่างชนิดและต่างประเภทกัน
  • ตรวจสอบ รอยร้าว หรือข้อเสียอื่นๆ เช่น บิดงอ ไม่ได้ฉาก อาจเนื่องจากการถอดแบบก่อนเวลาเพื่อผลิตให้ทันเวลา
  • ตรวจสอบงานตอกเสาเข็ม ขนาด ระยะการตอกระดับการส่งหัวเข็ม
  • ตรวจสอบจุดบรรจบของท่อระบายน้ำกับ ทางระบายน้ำสาธารณะของหน่วยราชการ มีระดับลาดเอียงที่สามารถระบายน้ำออกจากโครงการ ไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ โดยน้ำจะไม่ไหลย้อนกลับเข้าโครงการ ถ้ามีการติดตั้งปั๊มเพื่อสูบน้ำในบ่อพัก ควรตรวจสอบขนาดของปั๊มและกำลังส่งไฟฟ้าที่จะใช้ด้วย
  • กรณีเป็นรางระบายน้ำจะต้องมีฝาตะแกรงหรือฝาปูน ตรวจสอบดูว่า จะต้องเป็นส่วนที่ของหนัก ตัดผ่านบ่อยคร้ังหรือไม่การรับน้ำหนักของฝารางนั้น จะรับน้ำหนักได้หรือไม่
  • ตรวจสอบระยะห่างของบ่อพัก ให้ตรงตามที่ระบุในแบบ
  • ตรวจสอบวิธีการดักเศษขยะที่บ่อพัก และระดับแตกต่างระหว่างก้นท่อระบายน้ำกับก้นบ่อพัก

5. รายการตรวจสอบงานติดต้ังสุขภัณฑ์

  • ตรวจสอบรายการ Spec สินค้า ขนาด และคุณลักษณะอื่น ๆ ของสุขภัณฑ์ให้ตรงตามแบบและข้อกำหนด
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งให้ตรงตามที่บริษัทกำหนด
  • ตรวจสอบตำแหน่งการติดตั้งให้ตรงตามที่กำหนดในแบบ
  • ตรวจสอบการใช้วัสดุยึดสุขภัณฑ์ให้ถูกต้อง
  • ทดสอบแรงดันน้ำภายในท่อน้ำดีให้ได้มาตรฐานก่อนเชื่อมต่อสุขภัณฑ์และอุปกรณ์สุขภัณฑ์
  • ปล่อยน้ำเข้าท่อเชื่อมสุขภัณฑ์เพื่อตรวจสอบรอยรั่วตามข้อ ต่อและอุปกรณ์พร้อมทั้งทดสอบการใช้งาน
  • ปล่อยน้ำเข้าท่อเชื่อมสุขภัณฑ์ ทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมงเพื่อทดสอบคุณภาพของอุปกรณ์ประจำสุขภัณฑ์
  • ตรวจสอบการระบายน้ำบนพื้นไปยังท่อระบายน้ำทิ้งต้องไม่มีน้ำขังเป็นแอ่งอยู่บนพื้น
  • ตรวจสอบความมั่นคงยึดสุขภัณฑ์ทุกชิ้น
  • ตรวจสอบความสะอาดและความเรียบร้อยของพื้นที่ติดตั้งสุขภัณฑ์ครั้งสุดท้ายก่อนรับงาน

 

ระบบไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้าเกี่ยวพันอย่างมากกับเรื่องความปลอดภัย ฉะนั้นจะต้องจริงจังกับรายละเอียด โดยสามารถตรวจสอบตามรายการได้ 5 หมวดหมู่ดังนี้

1. รายการตรวจสอบหม้อแปลง

  • ตรวจสอบชื่อผลิตภัณฑ์และตัวอย่างให้ตรงตามที่อนุมัติ
  • ตรวจสอบชนิดและกำลังผลิตของหม้อแปลง
  • ตรวจสอบน้ำหนักและขนาดหม้อแปลง
  • ตรวจสอบแนวการนำหม้อแปลงติดตั้งเข้ากับแท่น
  • ตรวจสอบระยะห่างของหม้อแปลงกับแนวกำแพงหรือแนวรั้ว
  • ตรวจสอบการระบายอากาศภายในห้องหม้อแปลง
  • ตรวจสอบสภาพของหม้อแปลงเนื่องจากการขนส่ง

 

2. รายการตรวจสอบแผงเมน สวิทซ์บอร์ด

  • ตรวจสอบขนาดและน้ำหนักของแผงว่า เหมาะสมกับ บริเวณที่ตั้งอย่างไร
  • ตรวจสอบเนื้อที่ในการซ่อมบำรุงรักษาภายหลัง
  • ตรวจสอบขนาดของแผ่นเหล็ก
  • ตรวจสอบความเรียบร้อย และสวยงามในการประกอบ
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในแผง เช่น เครื่องเจาะรูว่า ถูกต้องและจำนวนครบหรือไม่

3. รายการควบคุมและตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าบนผนัง (แบบเดินลอย) มีดังนี้

  • ตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ให้ถูกต้องก่อนอนุญาตให้ติดตั้ง
  • ควบคุมและตรวจสอบวงจรให้ถูกต้องก่อนอนุญาตให้ติดอุปกรณ์ยึดรั้ง
  • ควบคุมและตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ยึดสายไฟฟ้า เช่น เข็มขัดรัดสายไฟฟ้าให้ได้แนวตรงและถูกต้องตามแบบ
  • ควบคุมและตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือตามที่ระบุไว้ในแบบ
  • ตรวจสอบความเรียบร้อยของสายไฟฟ้าให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
  • ควบคุมและตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกตำแหน่งและอยู่ในสภาพมั่นคง
  • ตรวจสอบจุดเชื่อมต่อต่างๆต้องปลอดภัยและมีระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
  • ทดสอบการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพการใช้งาน

 

4. รายการตรวจสอบรางและท่อร้อยสายไฟฟ้า

  • ตรวจสอบวัสดุตามที่ต้องการ
  • ชนิดของท่อน้ำเป็นแบบชนิดบางหรือหนาให้ตรงตามมาตรฐาน ข้อกำหนดของผู้ออกแบบตามที่กำหนด
  • ตรวจสอบวัสดุที่ใช้เคลือบภายในของท่อน้ำ
  • ตรวจสอบดูภายในท่อท่อน้ำมีตะเข็บ มากน้อยเพียงใด จะเป็นอันตรายต่อสายหรือไม่
  • ตรวจสอบฝีมือการทำงาน
  • การดัดท่อจะต้องไม่บุบ หรือบี้แบน
  • การตัดท่อจะต้องคว้านตรงรอยตัดไม่ให้มีความคม
  • การทำข้อต่อท่อ จะต้องแนบสนิทกับผิวโครงสร้างเพื่อหลบคานหรือเสา หรือเพดานคนละระดับ
  • การฝังท่อน้ำจะต้องโผล่ให้เห็นเฉพาะส่วนที่เป็นแนวตรงและตั้งฉากกับผิวโครงสร้าง
  • การยึดท่อกับโครงสร้าง ท่อจะต้องแข็งแรงไม่ขยับเขยื้อนได้ในขณะที่ดึงสายไฟ
  • การต่อท่อ จะต้องยึดกับโครงสร้างให้แน่น และต้องใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม เช่น ใช้อุปกรณ์แบบกันน้ำสำหรับภายนอกอาคาร หรือในส่วนที่น้ำจะเข้าได้
  • การใช้เครื่องมือจะต้องให้เหมาะสมและถูกต้องตามขนาดและชนิดของท่อ
  • ท่อน้ำที่เดินเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำความสะอาดก่อนเดินสายไฟ
  • การเดินสายไฟ จะต้องระมัดระวัง ไม่ให้ฉนวนของสายไฟเสีย เนื่องจากการดึงที่แรงเกินไป(สาเหตุเนื่องจาก ช่วงยาวเกินไป โค้งหลายจุด หรือจำนวนสายมากกว่า ข้อกำหนด )
  • ก่อนดึงสายไฟ จะต้องตรวจสอบตำแหน่งของตู้เชื่อมต่อ ต้องอยู่ในที่เหมาะสม
  • ต้องตรวจสอบท่อน้ำหลังจากเดินสายไฟแล้ว ท่อน้ำจะต้องไม่หลุดตามข้อ ต่อ เพื่อประโยชน์สำหรับพื้น
  • พยายามหลีกเลี่ยงการต่อท่อต่างชนิดกัน เช่น ท่อบางต่อกับ ท่อหนา หรือท่อเหล็กกับ ท่อพลาสติก
  • ในกรณีที่จะต้องเดินสายไฟไปยังหอ้งที่มีแก๊สหรือน้ำมัน หรือห้องที่มีอันตรายจากประกายไฟจะต้องใช้อุปกณ์แบบกันระเบิดที่มีตราประทับด้วย เรียบร้อย และผ่านการรับรองจากสถาบัน ตรวจมาตรฐานเช่น U.L.
  • ตรวจสอบขนาด และทิศทางการเดินท่อให้สัมพันธ์กับโครงสร้างและงานระบบอื่นๆ
  • ตรวจจำนวนการตัดโค้งงอของท่อไม่ให้เกินที่กำหนดไวใ้นมาตรฐาน

5. รายการตรวจสอบ อุปกรณ์ดวงโคม,ปลั๊กไฟฟ้า,สวิตซ์มีดังนี้

  • ตรวจบริษัทผู้ผลิตและตัวอย่างให้ตรงตามที่อนุมัติ
  • ตรวจสอบชนิดและขนาดของอุปกรณ์
  • ตรวจสอบความเสียหายอันเนื่องมาจากขนส่งหรือติดตั้ง
  • ตรวจสอบวิธีการยึดอุปกรณ์เกี่ยวกับความแข็งแรงและตำแหน่งที่ติดตั้ง
  • ทดสอบกระแสไฟฟ้าแสงสว่าง, ปลั๊ก และอุปกรณ์อื่นที่ต้องมีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงด้วยมิเตอร์วัดกระแสไฟก่อนติดตั้งอุปกรณ์
  • ทดสอบการเปิดปิดไฟแสงสว่าง, ปลั๊ก และอุปกรณ์อื่นๆที่ต้องมีกระแสไฟมาเลี้ยง
  • ตรวจสอบการเก็บความเรียบร้อยของผิวอาคารเช่น ผนัง พื้น ที่มีการฝังท่อและบล็อกไฟ
  • ตรวจสอบฝาครอบสวิตซ์และปลั๊กไฟให้อยู่ในสภาพเป็นระเบียบเรียบร้อย

 

รายละเอียดข้างต้นนี้ คือทั้งหมดของสิ่งที่ควรตรวจสอบ หรือมอบหมาย ให้ช่าง ผู้รับเหมา ต้องกำชับดูแล เพื่อให้งานก่อสร้างมีมาตรฐาน นำไปสู่บ้านที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และคงทนต่อการเวลา นอกจากนี้ ในฐานะเจ้าของบ้านหรือโครงการ ท่านยังสามารถมีส่วนช่วยในงานส่วนนี้ได้ง่ายๆ ด้วยเคล็ดลับ 3 ข้อดังนี้

1. ตัดสินใจและสรุปแบบให้ชัดและชัวร์ 

การทำให้งานทั้งหมดเป็นไปตามแผน ตามแบบ ไม่ปรับไปมา จะช่วยลดความเสี่ยงที่งานจะมีปัญหา ต้นทุนบานปลายได้ เพราะทุกอย่างวางมา คิดมาเป็นอย่างดี ไม่ต้องให้ช่างลุ้นกันหน้างาน

2. ยืนยันใช้ของคุณภาพ คนคุณภาพ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ

บางครั้งการประหยัดเงินไม่กี่บาทก็สามารถนำมาสู่การเสียเงินที่บานปลายภายหลังได้ การยอมลงทุนเพิ่มอีกหน่อย ใช้ทีมงาน และวัสดุ ที่ได้รับการรับรอง จะทำให้งานที่ได้ออกมามีมาตรฐาน และมีคุณภาพ ควรจัดงบประมาณโดยคิดถึงคุณภาพเหล่านี้เป็นที่ตั้ง ตั้งแต่ตอนเริ่มต้น

3. คุยกับผู้รับเหมา และผู้คุมงานบ่อยๆ อย่างตั้งใจ

ในส่วนนี้จะทำให้ทุกคนมีสมาธิ ตั้งใจไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด ในขณะเดียวกันก็สามารถหาคำตอบ แก้ปัญหาหน้างานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

เพียงเท่านี้ ท่านก็จะผ่านขั้นตอนของงานระบบไปได้โดยไม่ต้องปวดหัว หากท่านใดมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเนื้อหา หรือมีข้อสงสัย อยากได้คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างบ้าน หรือมองหาผู้ออกแบบ หรือช่างผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อเราได้ที่ 095-6456964 หรือผ่านทาง Line Official โดยการสแกน QR code ด้านล่าง

ชมผลงานจาก Richcons คลิ๊กที่นี่