คู่มือบ้านใหม่ฉบับสมบูรณ์ EP.5 : พื้นและโครงสร้าง
สวัสดีเพื่อนๆ ชาวริชคอนส์ทุกท่าน ห่างหายกันไปซักระยะหนึ่ง กับการอัพเดทความรู้เรื่ องการออกแบบและก่อสร้างบ้านใหม่ กับคู่มือบ้านใหม่ฉบับสมบูรณ์ ครั้งก่อนเราได้พูดถึงงานหนั กเข้าใจยากอย่างฐานรากกันไปแล้ว วันนี้จะมาถึงเรื่องสบายๆ เข้าใจง่ายๆ กันบ้าง นั่นก็คือ งานโครงสร้างและงานพื้นนั่นเอง แต่ถึงจะเป็นเรื่องสบายๆ ก็ต้องใส่ใจให้มาก เพื่อคุณภาพบ้านที่ดีที่สุ ดของเรา บนงบประมาณที่จะไม่บานปลาย ถ้าพร้อมแล้ว ไปชมกันเลย
เมื่อเราจัดการเรื่ องงานฐานรากเรียบร้อย คอนกรีตเซ็ทตัว พร้อมดำเนินการก่อสร้างต่อ ก็มาถึงขั้นตอนต่อไป คืองานพื้นและโครงสร้าง โดยส่วนนี้จะเป็นเหมือนการเริ่ มต้นการสร้างบ้านอย่างเป็ นทางการกันแล้ว ก่อนจะดำเนินการต่อ ริชคอนส์มีเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ให้ได้ทำกัน 2 ประการ ดังนี้
1. ประชุมกับสถาปนิก ผู้ออกแบบ เพื่อคอนเฟิมหน้าตาบ้านเป็นครั้ งสุดท้าย
หากจุดนี้ไป ทุกครั้งที่เราเปลี่ยนใจ เปลี่ยนแผน คือเงินที่จะบานปลายไปเรื่อยๆ ฉะนั้น ก่อนเดินหน้าต่อ ตัดสินใจให้ชัดเจน ดูจากภาพสามมิติให้เรียบร้อย เสาตรงนี้ ประตูตรงนั้น หน้าต่างตรงโน้น ครั้งนี้ครั้งสุดท้าย เคาะให้แม่น แล้วลุยกันเลย
2. ตรวจสอบงานระบบให้ชัดเจน ทำความเข้าใจกับช่างอย่างละเอี ยด
ปัจจุบัน บ้านสมัยใหม่มักจะซ่ อนงานระบบไว้กับโครงสร้าง และพื้น โดยหลายๆ ครั้งหลังจากเทปิดพื้ นและงานสถาปัตย์ต่างๆ แล้ว หากจะเปลี่ยนคือ ทุบสถานเดียว เสียทั้งเงิน ทั้งเวลา ฉะนั้น ก่อนลงมือในขั้นตอนนี้ อย่าลืมคอนเฟิมทุกอย่างให้จบ ทั้งกับสถาปนิก ผู้ออกแบบ และวิศวกรระบบ จากนั้นทำความเข้าใจคิวกับผู้ก่ อสร้างให้เรียบร้อย จะได้ไม่บานปลายกันภายหลัง
เมื่อคอนเฟิร์มทุกอย่างจนแน่ใจแล้ ว ก็มาถึงขั้นตอนจริงๆ ในการก่อสร้างกัน ซึ่งจุดนี้ส่วนมากก็จะเป็นเรื่ องทางเทคนิค ที่เราเพียงต้องเข้าใจไว้คร่าวๆ และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ เชี่ยวชาญ โดยสามารถสรุปเป็นขั้นตอนได้ดั งต่อไปนี้
งานพื้นคอนกรีต
พื้นบ้านจริงๆ มีหลายประเภท แต่ที่เป็นที่นิยมที่สุดคือพื้ นคอนกรีต ซึ่งปัจจุบันมีแบบสำเร็จรูปให้ ใช้งานแล้ว สามารถแบ่งเป็นลักษณะได้ง่ายๆ 3 แบบ คือแบบท้องเรียบ ซึ่งจะเหมาะใช้กับบ้านที่มีช่ วงเสาแคบ แบบรูกลวงตรงกลางเหมาะใช้กับบ้ านที่มีช่วงเสากว้าง และพื้นแบบ Post Tension ซึ่งจะเป็นพื้นที่เหมาะในการรั บน้ำหนักมากๆ เนื่องจากมีการเสริมเหล็กชนิดพิ เศษไว้ในพื้นด้วย
จะเลือกใช้แบบใดขึ้นอยู่กั บการใช้งานและงบประมาณ ซึ่งในส่วนนี้ทางผู้ออกแบบจะเป็ นผู้ให้คำแนะนำ
งานก่อผนัง
ผนังภายนอกทำหน้าที่ปกป้องบ้ านจาก ลม ฝน ภายนอกอาคาร และผนังภายในใช้สำหรับการแบ่งพื้ นที่ภายในบ้านให้เป็นสัดเป็นส่ วน ผนังสามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ ผนังรับน้ำหนัก และผนังไม่รับน้ำหนัก โดยที่ผนังรับน้ำหนักจะมี ราคาแพงกว่า ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง และจำเป็นต้องมีคานมารองรับ ส่วนผนังไม่รับน้ำหนักนั้น เป็นที่นิยมมากกว่า ราคาไม่แพง และจะมีคานมารองรับหรือไม่ก็ได้
คำแนะนำเล็กน้อยของงานผนัง โดยเฉพาะผนังไม่รับน้ำหนักที่ ใช้กั้นห้อง หากในบ้านมีแผนจะมีเฟอนิเจอร์ หรือส่วนประกอบขนาดใหญ่ อย่าลืมวางแผน เว้นผนังให้เหมาะสม เพื่อความสะดวกในการขนย้ายสิ่ งของต่างๆ ด้วย
งานช่องประตูหน้าต่าง
ในส่วนนี้จะต้องวางแผน เว้นให้ถูกต้อง เผื่อจังหวะการขนย้ายสิ่งของให้ ดี เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่ อการทำงาน แต่ก็ต้องวางแผน จังหวะ ดีๆ เพราะงานประตูหน้าต่าง จริงๆ จะต้องสั่งผลิต และใช้เวลาในการผลิตและขนส่ง ไม่ควรนำมากองตากแดดตากฝน แต่ก็ไม่ควรต้องให้รอนานขาดช่วง ฉะนั้น งานนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ ความสามารถของบริษัทรับเหมาได้ เป็นอย่างดี
งานปูพื้นภายใน
ส่วนมากนิยมปูพื้นด้วยกระเบื้อง โดยทั่วไปพื้นกระเบื้องจะแบ่ งเป็น กระเบื้องยาง และกระเบื้องเซรามิค
กระเบื้องยางนั้น ใช้กาวยางในการยึดติดกับตัวพื้น ฉะนั้นพื้นจะต้องถูกขัดจนมันเรี ยบ ได้ระดับ และแห้งสนิท เพื่อให้กาวยางประสานระหว่างตั วกระเบื้องกับพื้นได้อย่างดี
กระเบื้องเซรามิคนั้น ใช้ปูนในการยึดติดตัวกระเบื้ องเข้ากับพื้น ฉะนั้นพื้นด้านล่างต้องเตรี ยมให้มีความหยาบ เพื่อให้ปูนสามารถยึดเกาะกับพื้ นได้
ข้อควรระวังในการปูกระเบื้ องเซรามิค
– ก่อนปูกระเบื้อง ต้องทำความสะอาดพื้นคอนกรีตด้ านล่างให้เรียบร้อย และมั่นใจว่าพื้นได้ระดับ
– พื้นคอนกรีตด้านล่างต้องมั่ นใจว่าแห้งสนิท หากพื้นยังไม่แห้งดี จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการยึ ดเกาะของกระเบื้องกับตัวพื้น หากเป็นตัวพื้นที่อยู่ชั้นล่ างที่ติดกับพื้นดิน จะต้องเทพื้นปรับระดับ ด้วยปูนซีเมนต์ผสมทรายและผสมด้ วยน้ำยากันซึม เพื่อกันไม่ให้ความชื้นแทรกขึ้ นมาได้
– การปูกระเบื้อง ส่วนมากจะเลือกใช้ กาวซีเมนต์ หรือปูนซีเมนต์ และควรเว้นร่องในการปูกระเบื้ องไว้ประมาณ 1-3 มิลลิเมตร ระหว่างกระเบื้องแต่ละแผ่น เพื่อเป็นการกันการโก่งหรือแอ่ นหลังจากการปู
– ทิ้งพื้นไว้ให้กาวหรือปูนแห้ งหลังจากการปูกระเบื้องเสร็จแล้ วอย่างน้อย 1 วัน จากนั้นค่อยทำการลงยาแนว โดยก่อนการลงยาแนว จะต้องทำความสะอาดร่องระหว่ างกระเบื้องให้สะอาดเรียบร้อยก่ อน ทิ้งพื้นหลังยาแนวเสร็จแล้วไว้ ซัก 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มการใช้งาน
ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้จะเป็นขั้นตอนที่รับส่ง วนกัน โดยไล่จากชั้นล่างขึ้นชั้นบน ไปเรื่อยๆ จนครบ จากนั้นจะต่อด้วยงานหลั งคาในลำดับถัดไป ซึ่งเราจะพูดถึงกันเป็นลำดับถั ดไปในบทที่ 6
ก่อนจากกันวันนี้ อยากให้ท่านเจ้าของบ้านและเจ้ าของโครงการ ระลึกไว้เสมอว่า ทุกขั้นตอนของการสร้างบ้าน มีความจำเป็นต้องใส่ใจ และวางแผน ทำตามแผนกันอย่างเคร่งครัด เพื่อคุณภาพที่ดีที่สุดของบ้าน ความปลอดภัยในการทำงาน และที่สำคัญ เพื่อไม่ให้งบประมาณบานปลาย ให้ท่านได้บ้านที่ถูกใจ ในราคาที่ถูกต้อง
หากท่านใดมีข้อสงสัย สามารถติดต่อเราได้ที่095-6456964 หรือผ่านทาง Line Official โดยการสแกน QR code ด้านล่าง
ชมผลงานจาก Richcons คลิ๊กที่นี่