คู่มือบ้านใหม่ฉบับสมบูรณ์ EP 4: เสาเข็มและฐานราก ไม่ยากอย่างที่คิด
สวัสดีเพื่อนๆ ผู้ติดตามริชคอนส์ทุกท่าน
วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องที่ต่ อเนื่องจากครั้งก่อนกัน หลังจากการปรับ เตรียมพื้นที่และตีผังเรียบร้ อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปของเราก็คื อการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับบ้ านของเรากัน
เมื่อพูดถึงบ้าน เราต้องคำนึงว่า บ้านจะเป็นสถานที่ที่ เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ในนั้นเป็ นระยะเวลานาน ยิ่งไปกว่านั้น หากเราสร้างบ้านจนเสร็จสมบูรณ์ แล้ว หากมีปัญหาจากฐานรากจะไม่ สามารถแก้ได้โดยง่ายและทำให้ตั วบ้านเสียหายได้เป็นอย่างมาก
เหตุผลที่เราจำเป็นต้องใส่ใจกั บงานฐานรากนั้นเนื่ องจากธรรมชาติของพื้นดินเมื่อผ่ านกาลเวลา อาจนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงต่ างๆ ที่เราไม่อาจควบคุมได้ โดยตัวอย่างที่เรามักเห็นได้ มากที่สุดคือสภาวะที่พื้นดินทรุ ดตัว อันจะทำให้โครงสร้างของบ้ านและองค์ประกอบต่างๆ ได้รับความเสียหาย จากการรับน้ำหนักของตัวบ้านเอง เราจึงต้องพึ่งงานฐานราก เพื่อสร้างสิ่งรับน้ำหนักที่มั่ นคง เพื่อให้มั่นใจว่า แม้ธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปอย่ างไร เราจะมีโครงสร้างที่ทำให้บ้ านของเราดำรงอยู่ได้โดยไม่ได้รั บผลกระทบที่รุนแรงจนเสียหายนั่ นเอง
อย่างไรก็ตาม งานฐานรากเป็นงานที่ลงรายละเอี ยดเชิงวิศวกรรมและเชิงเทคนิคสู งมากๆ มากจนเราในฐานะเจ้าของบ้าน หรือเจ้าของโครงการ ไม่อาจจะเข้าไปเข้าใจหรื อออกความเห็นในรายละเอียดได้ ควรปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญเป็ นคนดูแล โดยเราควรมอบหมายให้ที่ปรึกษา สถาปนิก หรือ วิศวกร ตามตรวจและดูแลงานอย่างใกล้ชิด พร้อมให้อธิบายในขั้นตอนต่างๆ ให้กับเราฟังอีกครั้งหนึ่ง
ในบทนี้ ริชคอนส์จะขอแนะนำในมุมของเจ้ าของบ้านว่า ในบทบาทที่จำกัดของเรา เราควรจะใส่ใจ ตรวจสอบ หรือมอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญช่ วยดูแลเรื่องอะไรบ้าง โดยจะแบ่งความรู้เป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ท่านเจ้าของบ้ านสามารถทำความเข้าใจ และนำไปใช้ได้ง่ายๆ ดังนี้
เข้าใจขั้ นตอนโดยรวมของงานรากฐาน
ส่วนนี้ให้เราทำความเข้าใจว่ างานรากฐานประกอบไปด้วยขั้ นตอนอะไรบ้าง เพื่อให้เราคุ้นเคยเวลาที่ต้ องพูดคุยกับวิศวกร ตลอดจนผู้รับเหมา โดยงานรากฐานจะประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คือ
1. งานตอกเสาเข็ม
2. งานขุดดินฐานราก
3. งานตัดหัวเสาเข็ม
4. งานตีผังทำศูนย์เสาเข็ม
5. งานผูกเหล็กเสริมคอนกรีต
6. งานเข้าแบบหล่อคอนกรีต
7 งานเทคอนกรีต
8. งานบ่มคอนกรีต
9. งานกลบดินลงหลุมฐานราก
หลักการง่ายๆ คือ เราตีผัง ตอกเสาเข็มตามผังเพื่ อวางแผนการรับน้ำหนัก จากนั้น ขุดหลุมลงไปรอบๆ เสาเข็ม เพื่อเสริมคอนกรีตลงไปเป็นฐาน เพื่อไว้รอรับน้ำหนักของตัวบ้ านให้ถ่ายลงไปที่เสาเข็มที่ เราตอกเอาไว้ กล่าวคือ บ้านถ่ายน้ำหนักไปที่ฐานราก แล้วฐานรากถ่ายน้ำหนั กไปบนเสาเข็มนั่นเอง
หากมองถึงขั้นตอนอย่างละเอียด ก็จะเป็นเรื่องราวที่ซับซ้อนเข้ าใจยากมากๆ ที่ควรยกให้เป็นหน้าที่ของผู้ เชี่ยวชาญ แต่ในฐานะเจ้าของโครงการหรือเข้ าของบ้าน ริชคอนส์มีรายการให้ท่านใส่ ใจในส่วนนี้อยู่ 5 ประการด้วยกัน เป็นการช่วยช่างตรวจสอบ และสร้างความมั่นใจให้กับตั วเราเองว่าขั้นตอนนั้นจะเป็ นไปอย่างถูกต้อง และบ้านของเราอยู่บนรากฐานที่มั่ นคง ปลอดภัย ไปดูกันเลย
1. ยืนยันใช้เสาเข็มที่มีมาตรฐาน
เสาเข็มมีหลากหลายแบบ ให้เราใช้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ ยวชาญ และระวังอย่าเผลอไปใช้ทางเลื อกที่ “ประหยัด” โดยไม่มีมาตรฐาน
หลายครั้งเราอาจพบเจอข้อเสนอที่ ฟังดูประหยัดเงินมากๆ คือการใช้เสาเข็มที่ไม่ได้ผ่ านการรับรอง ซึ่งเราต้องระวังให้มาก เพราะการไม่ได้รับการรับรอง อาจหมายถึงการไม่ได้ผ่ านการทดสอบ อันอาจหมายถึงการรับน้ำหนักไม่ ได้ตามที่ออกแบบไว้ หลายครั้งเสาไม่มีสัญลักษณ์ มอก. ราคาถูกกว่าหลายร้อย หรือเป็นพันบาท ต่อต้น อาจประหยัดเงินได้หลายหมื่นบาท แต่หารู้ไม่ ท่านอาจกำลังเอาบ้านทั้งหลั งมาเสี่ยง สำหรับเรื่องเสาเข็ม ให้ท่องให้ขึ้นใจว่า แพงกว่าก็ต้องยอมจ่าย เพราะพลาดตอกลงไปในดินแล้ว แก้ไม่ได้ รื้อสถานเดียว
2. ตรวจเสาทุกต้นก่อนตอก
จะให้ดี ตรวจตั้งแต่ขนเข้าไซต์งาน ตอนกองเสาก็ตรวจ ตอนยกมาก่อนตอกก็ต้องตรวจ โดยตรวจเรื่องสำคัญ 3 เรื่องคือ
– เสามีตรามาตรฐานรองรับ (อย่างน้อย มอก.)
– เสาถูกสเป็คที่สั่ง
– เสาไม่แตก ไม่ร้าว ไม่มีรอยหัก
3. ศูนย์เสาต้องตรง
เรื่องนี้อาจดูเองไม่ได้ แต่ควรให้ที่ปรึกษา สถาปนิก และวิศวกร ตรวจให้อย่างละเอียด เพราะเรื่องนี้มีผลมากๆ ต่อการรับน้ำหนักของโครงสร้าง ถ้าศูนย์ไม่ตรง ทางวิศวกรจะได้ทราบก่อน และปรับแบบการก่อสร้างหน้ างานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิ ภาพต่อไป
4. เหล็กเสริมฐานรากมีคุณภาพ
ในส่วนนี้สำคัญคือ ให้ที่ปรึกษา หรือวิศวกร ตรวจสอบเหล็กให้ตรงตามมาตรฐาน เต็มน้ำหนัก มีคุณภาพ และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน โดยหลักสำคัญคือตรวจสอบจากยี่ห้ อและชั้นของเหล็ก ตรงนี้เราสามารถให้วิศวกรตรวจย้ อนไปถึงผู้ขายเหล็กได้ โดยควรเป็นเหล็กในสภาพใหม่ พร้อมใช้งาน ไม่บุบสลาย ไม่เก่าเก็บ นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือ ตอนที่เราเก็บเหล็กในไซต์งาน ควรมีที่เก็บในร่ม หรืออย่างน้อย หนุนไม้และคลุมผ้าพลาสติกให้มิ ดชิด
5. ประชุมอัพเดททุกขั้นตอน และดำเนินงานด้วยความเข้าใจ
ดังที่เล่าข้างต้นว่ างานรากฐานมี 9 ขั้นตอน ซึ่งเราอาจเข้าไปจับต้องได้ไม่ มากเพราะความซับซ้อนของงาน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่องานดำเนินไปตามขั้นตอน ควรให้ช่างหรือที่ปรึกษา ประชุมกับเรา อัพเดทความคืบหน้าในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อความมั่นใจว่าแต่ ละกระบวนการ ผ่านไปอย่างถูกต้อง หากมีอุปสรรคที่ต้องแก้ไข ควรยอมสละเวลามาใส่ใจจัดการ หากฟ้าฝนไม่เป็นใจ กระทบให้งานช้าลงบ้าง ในส่วนนี้อยากให้ท่านใช้ความเข้ าใจ อะลุ่มอล่วยให้กับทีมงานที่หน้ างาน เพื่อให้ทุกคนมีสมาธิกับงานส่ วนนี้ ทำงานอย่างสบายใจ และมีประสิทธิภาพที่สุด
เพียงเท่านี้ งานฐานรากก็จะผ่านไปได้ด้วยดี เราได้บ้านที่มั่นคง แข็งแรง อยู่กับเราไปอีกนานนับสิบปี ไม่ต้องลุ้นและปวดหัวในระยะยาว
หากท่านใดมีข้อสงสัย สามารถติดต่อเราได้ที่095-6456964 หรือผ่านทาง Line Official โดยการสแกน QR code ด้านล่าง
ชมผลงานจาก Richcons คลิ๊กที่นี่